วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อนุทิน3



 ตอบคำถาม

1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ ที่มนุษย์เราต้องมีกฎหมายเพราะคนเราต้องมีกฎหมายมาควบคุมพฤติกรรมต่างๆถ้าคนเราไม่มีกฎหมายมาควบคุมพฤติกรรมก็จะอยู่ร่วมกันไม่ได้เพราะต่างคนก็จะทำในสิ่งที่ตัวเองต้องการโดยไม่สนใจว่าใครจะเดือดร้อนยังไง ดังนั้นสังคมเพื่อให้เกิดความสงบสุขในสังคมเราจึงต้องมีกฎหมายมาควบคุมดูแล       
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร                                   
ตอบ  อยู่ไม่ได้  เพราะสังคมจะเกิดความวุ่นวายไม่สงบสุข เพราะต่างคนต่างทำในสิ่งที่ตนต้องการ ดังนั้นต้องมีกฎหมายเพื่อใช้ในสังคมเพื่อไม่ให้เกิดความแตกแยก วุ่นวาย รบราฆ่าฟันกัน
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
3. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้                                                                
ก.ความหมาย                                  ข.ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย                                             
ค.ที่มาของกฎหมาย                           ง.ประเภทของกฎหมาย                                                                           
ตอบ  ความหมายของกฎหมาย   กฎหมายคือ คำสั่งข้อบังคับของรัฐที่กำหนดขึ้น เพื่อกำหนดความประพฤติของพลเมืองผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมีความผิดและถูกลงโทษ การบังคับใช้กับพลเมืองทุกคน ไม่จำกัด อายุ เพศ ชั้น วรรณะ สัญชาติ และกฎหมายจะถูกบังคับใช้ตลอดไปจนกว่าจะประกาศยกเลิก
                                                                                                
      ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย 
         1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดอาทิ รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฏิวัติ กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้
          2. มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ อันมิใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์ อาทิ ประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ คำแถลงการณ์ของคณะสงฆ์ ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมาย สำหรับคำสั่งข้อบังคับที่เป็นกฎหมาย
         3. ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้
         4. มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้น ๆ กำหนด

          ที่มาของกฎหมาย
                       1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลักษณ์อักษร                                                       
                       2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน                                
                       3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุก ๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี
                       4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา                                            
              5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้น                                                                                                                                                     

 ประเภทของกฎหมาย ซึ่งมีการแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทยขึ้นอยู่ใช้หลักใดจะขอกล่าวโดยทั่ว ไปดังนี้                                                                                                                           
                ก. กฎหมายภายใน   มีดังนี้                                                                                                    
1.             กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร                                                
 1.1กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร                                                                                          
 1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
      2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
 2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา
2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางเพ่ง
   3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
3.1 กฎหมายสารบัญญัติ
3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ
4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
  4.1 กฎหมายมหาชน
   4.2 กฎหมายเอกชน
         ข. กฎหมายภายนอก    มีดังนี้
1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่า ทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
           ตอบ  ที่ทุกประเทศต้องมีกฎหมายก็เพราะต้องการความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีสิทธิเสรีภาพ มีประชาธิปไตยเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขของมนุษย์ ลดความขัดแย้ง การทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย ที่สาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจกัน เพื่อควบคุมควบความประพฤติของมนุษย์ในสังคมรวมทั้งเพื่อรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความสงบให้เกิดขึ้นในสังคม
 ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
         ตอบ   โทษต่างๆในกฎหมาย ถ้าเป็นสภาพบังคับอาญา ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ส่วนสภาพบังคับของกฎหมายแพ่ง ได้แก่การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้นตกเป็นโมฆะหรือโมฆียะ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
            ตอบ   ต่างกัน  เพราะ
 -  กฎหมายอาญา โทษบุคคลทำผิดจะต้องได้รับโทษ เช่น รอลงอาญา ปรับ จำคุก กักขัง ริบทรัพย์สภาพบังคับทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ใช้ลงโทษกับผู้กระทำผิดทางอาญา
-  กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง ได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่าง ๆ กันไว้สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่น การกำหนดให้เป็น โมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับให้ชำระหนี้ การให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือการที่กฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
อนึ่งสำหรับสภาพบังคับทั้งอาญาและทางแพ่งควบคู่กันไปได้ เช่น กฎหมายที่ดิน พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
            ตอบ ระบบกฎหมาย แบ่งเป็น 2 ระบบดังนี้
1. ระบบซีวิลลอร์ (Civil Law System) หรือระบบลายลักษณ์อักษร ถือกาเนิดขึ้นในทวีปยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นระบบเอามาจาก “Jus Civile” ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสาคัญกว่าอย่างอื่น คาพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ จะถือเอาคาพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของ นักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่า กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน และการวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด กลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายนี้ ประเทศยุโรป เช่น อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และประเทศตะวันออก เช่น ไทย ญี่ปุ่น
2. ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เกิดและวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษมีรากเหง้ามาจากศักดินา ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคาว่า “เอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์ เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นาเอาจารีตประเพณีและคาพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้างมีกี่ประเภทแต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
         ตอบ   แบ่งโดยแหล่งกำเนิด อาจแบ่งออกได้เป็นกฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก   กฎหมายภายใน เป็นหลักในการแบ่งย่อยออกไปได้อีก เช่น
        แบ่งโดยถือเนื้อหาเป็นหลัก เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรและกฎหมายที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร
        แบ่งโดยถือสภาพบังคับกฎหมายเป็นหลัก เป็นกฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง
        แบ่งโดยถือลักษณะเป็นหลัก แบ่งได้เป็น กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
        แบ่งโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
กฎหมายภายนอก เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ
กฎหมายระหว่างประเทศแบ่งตามลักษณะของฐานะความสัมพันธ์ เช่น แบ่งเป็นกฎหมายประเภทแผนกคดีเมือง ส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐหนึ่งกับบุคคลในอีกรัฐหนึ่ง และกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยข้อตกลงระหว่างรัฐในการร่วมมืออย่างถ้อยทีถ้อยปฏิบัติในการปราบปรามอาชญาระหว่างประเทศและส่งตัวผู้ร้ายข้ามให้แก่กัน
มี 2 ประเภท
1.  กฎหมายภายใน
                        ·  กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                        ·  กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                        ·  กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
                        ·  กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
2.  กฎหมายภายนอก
                        ·  กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
                                      ·  กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
                                       ·  กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
            ตอบ   คือ การจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน
มีการแบ่งซึ่งจะต้องอาศัยหลักว่า กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลำดับที่ต่ำกว่า จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลำดับที่สูงกว่าไม่ได้และเราจะพิจารณาอย่างไร โดยพิจารณาจากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย โดยใช้เหตุผลที่ว่า
(1) การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สำคัญ เป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น เช่น พระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชน
(2) การให้รัฐสภา เป็นการทุ่นเวลา และทันต่อความต้องการและความจำเป็นของสังคม
              (3) ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้น
 ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า รัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่า รัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
       ตอบ   กระทำผิด เพราะประชนมาประชุมกันอย่างสงบ ปราศจากอาวุธไม่ได้ทำร้ายผู้อื่น รัฐบาลจึงไม่มีสิทธิทำร้ายประชน อาจจะแค่พูดจาหรือบอกกล่าวแต่ไม่สามารถทำร้ายประชาชนเกินเหตุอันควร
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ  กฎหมายการศึกษา คือบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหน่วยงานผู้มีอำนาจ ได้ตราขึ้นและมีผลบังคับใช้ การจัดการศึกษามีการปฏิรูปให้สอดคล้องกับภาวะบ้านเมืองปัจจุบันจึงได้นำบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ได้กำหนดให้ มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและสอดคล้องกับภาวะปัจจุบัน ดังนั้นครูและบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจกฎหมายการศึกษาให้มากขึ้น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการศึกษาของชาติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไป
ประกอบอาชีพครู จะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
          ตอบ    ถ้ารเราไม่ศึกษากฎหมาย เราก็จะไม่รู้กฎหมายไม่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและไม่สามารถนำไปถ่ายทอดให้กับนักเรียนได้ เพราะกฎหมายเป็นสิ่งจำเป็นและอยู่รอบๆตัวเรา เราจึงจำเป็นที่จะต้องรู้กฎหมาย เพื่อนำไปใช้ได้ถูกต้อง
 ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อนุทิน2

                   ภาพนี้มีชื่อว่า 'โสเภณีในคราบนักศึกษา'




        ในยุคสมัยนี้ทุกคนต่างรู้ดีว่าคำว่า โสเภณี หมายถึง หณิงสาวที่ขายบริการทางเพศเพื่อสำเร็จความใคร่ในกามอารมณ์องผู้อื่น อันเป็นการสำส่อนเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนต้องการอย่างเช่น สิ่งของมีค่าต่างๆ สิ่งอำนวยความสะดวก สิ้นค้าแบรนเนม บ้าน รถ และอื่นๆอีกมากมาย โดยไม่สามารถขอเงินจากผู้ปกครองได้หรือหาเงินได้เองจากการทำงาน เพราะสิ่งของเหล่านี้ล้วนมีราคาแพง นักศึกษาเหล่านั้นจึงยอมทำงานที่คิดว่าง่าย โดยการไปายบริการทางเพศ ทำงานอาบอบนวด ทำงานในผับในบาร์ เพื่อให้ได้มาโดยวิธีง่ายๆโดยไม่คิดถึงผลที่จะตามมาภายหลัง ซึ่งอาชีพเหล่านี้มักมีการเกี่ยวพันกับสิ่งอบายมุข เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เมายาซึ่งสร้างภาพพจน์ที่ไม่ดีให้กับตัวเองและคนรอบข้างยังหมดศรัทธาในความเป็นนักศึกษา เพราะบุคคลกลุ่มนี้ได้ทำลายความเป็นนักศึกษาให้ดูแย่ลงในสังคม


         สาเหตุเกิดขึ้นจากเด็กอยากมีอยากได้ คลั่งไคล้ในวัตถุนิยม ตามกระแสแฟชั่น เกิดจากาดความอบอุ่นในครอบครัว ขาดความรู้สึกมีคุณค่าไม่ประสบความสำเร็จในด้านการเรียนตามที่ตนเองตั้งเป้าหมายไว้ ไม่เป็นที่ยอมรับของพ่อแม่และสังคม จึงแสวงหาการยอมรับ หาความสุขและความพึงพอใจจากแฟนและาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องเพศ นอกจากนี้อาจได้รับอิทธิพลจากแหล่งสื่อต่างๆมากมาย


        การแก้ไปัญหาจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนองสังคมประกอบด้วย ภาครัฐ ควรมีการกระจายรายได้ให้เป็นธรรมเพราะเมื่อทุกคนมีรายได้เพียงพอ ก็คงไม่มีใครอยากายบริการทางเพศและควรมีนโยบายชัดเจนในการปราบปรามสื่อลามกมีการควบคุมเว็บไซต์ที่มีการแพร่ภาพลามกหรือช่องทางในการขายบริการทางเพศอย่างจริงจัง รณรงค์ให้ความสำคัญเรื่องครอบครัว ความรักความอบอุ่นภายในครอบครัว ครอบครัวควรปลูปฝังค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก ให้รู้จักรักนวลสงวนตัว ไม่ยุ่งเกี่ยวกับกับอบายมุ

 ในส่วนของสถาบันครอบครัว พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเป็ฯแบบอย่างที่ดีให้ความรู้เรื่องเพศอย่างถูกต้อง มอบความรัก ความอบอุ่น สร้างความไว้วางใจให้กับลูก ผู้ปกครองควรศึกษาหาความรู้เพื่อให้ทันเทคโนโลยีเพื่อสามารถเฝ้าระวังและติดตามความเคลื่อนไหวของบุตรหลานได้  สถาบันการศึกษา ควรจัดการเรียนการสอนเรื่องเพศศึกษาที่เหมาะสมกับระดับชั้น  สอนให้รู้ถึงปัญหาองการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ให้เรียนรู้และเ้าใจว่ส การศึกษาเรื่องเพศสัมพันธ์เป็นวิธีการป้องกันไม่ใช่เพื่อการปฏิบัติหรือทดลอง