วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ข้อสอบปลายภาค


ข้อสอบปลายภาค
คำสั่งข้อสอบมีทั้งหมด 7 ข้อ ให้นักศึกษาทำทุกข้อ ห้ามลอกกันเขียนคำตอบโดยใช้สำนวนเหมือนกันถือว่ามิใช่ความคิดของนักศึกษาเอง ปรับให้ตกทั้งคู่ ข้อละ 10 คะแนน

1.กฎหมายทั่วไปกับกฎหมายการศึกษา มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบอย่างย่อๆ ให้ได้ใจความพอเข้าใจ
ตอบ กฎหมาย หมายถึง กฎที่สถาบันหรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณี อันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) พระราชกำหนด กฎกระทรวง ระเบียบ  ข้อบังคับ  เป็นต้น
ดังนั้น กฎหมายทั่วไปกับกฎหมายการศึกษา จึงมีความเหมือนกันในบางส่วนเช่นกฎหมายทั้ง 2 จะมีกฎหมายที่ใช้ดูแล ควบคุม เพื่อให้บุคคลอยู่ในกฎระเบียบต่างๆ และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขในสังคม แต่ก็จะมีความแตกอย่างกันอยู่ กฎหมายทั่วไปจะใช้ควบคุม ดูแล หรือออกกฎระเบียบบังคับในเรื่องทั่วๆไป แต่กฎหมายการศึกษาจะออกกฎระเบียบ ดูแล ควบคุม เกี่ยวกับการศึกษาเป็นส่วนใหญ่จะเจาะลึกเกี่ยวกับการศึกษา
2.รัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยการศึกษา มีสาระหลักที่สำคัญอย่างไร ในประเด็นอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ยกตัวอย่างประกอบ พอเข้าใจ (รัฐธรรมนูญตั้งแต่ฉบับแรจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2550)
ตอบ รัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยการศึกษา คือบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหน่วยงานผู้มีอำนาจ ได้ตราขึ้นและมีผลบังคับใช้ การจัดการศึกษามีการปฏิรูปให้สอดคล้องกับภาวะบ้านเมืองปัจจุบันจึงได้นำบท บัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ได้กำหนดให้ มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและสอดคล้องกับภาวะปัจจุบัน ดังนั้นครูและบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจ กฎหมายการศึกษาให้มากขึ้น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการศึกษา ของชาติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป
ยกตัวอย่างเช่น
รัฐธรรมนูญพ.ศ.2540 ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
มีมาตราที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยตรง 2 มาตรา คือ
     มาตรา 43    บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกาาอบรมของรัฐต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน ทั้งนี้ ตามที่ กฎหมายบัญญัติ การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
    มาตรา 81    รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุน ให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ  ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้อง กับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างเสริมความรู้ และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สนับสนุนการค้นคว้าวิจัยในศิลปวิทยาการต่าง ๆ เร่งรัดพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ
       จะเห็นได้ว่า มีรัฐธรรมนูญฉบับนี้ฉบับเดียวที่ระบุให้มีกฏหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ(มาตรา 81) ซึ่งมีผลทำให้เกิด พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และกฏหมายการศึกษาอื่นอีกหลายฉบับ ซึ่งถือเป็นประวัติศาสตร์ของการปฏิรูปการศึกษาครั้งสำคัญของเมืองไทยยุคหนึ่ง

   รัฐธรรมนูญพ.ศ.2550  ก็มีสาระที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ระบุเอาไว้ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา มี 2 มาตรา คือ
       มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
      มาตรา50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับการคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
     

3.พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ มีกี่มาตรา และมีความสำคัญอย่างไร และประเด็นหรือมาตราใดที่ผู้ปกครองต้องปฏิบัติและต้องยึดถือปฏิบัติ
ตอบ พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 นี้มีทั้งหมด 20 มาตรา ,มีความสำคัญโดย ที่กฏหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการ ศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปีโดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ด เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่จะสอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ จึงสมควรปรับปรุงกฏหมายว่าด้วยการประถมศึกษา เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฏหมายดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ 
มาตราที่ผู้ปกครองต้องปฏิบัติและต้องยึดถือปฏิบัติ คือ
มาตรา 6 ให้ผู้ปกครองส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา เมื่อผู้ปกครองร้องขอ ให้สถานศึกษามีอำนาจผ่อนผัน ให้เด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับได้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะ กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
มาตรา  11  ผู้ใดซึ่งมิใช่ผู้ปกครอง  มีเด็กซึ่งไม่ได้เข้าเรียนในสถานศึกษาอาศัยอยู่ด้วย  ต้องแจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  แล้วแต่กรณี  ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่เด็กมาอาศัยอยู่  เว้นแต่ผู้ปกครองได้อาศัยอยู่ด้วยกับผู้นั้น
มาตรา 13 ผู้ปกครองที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 6 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

4.ท่านเข้าใจว่า หากมีใครเข้ามาปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่เปิดการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรณีสอนทั้งปีที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูนั้น สามารถมาปฏิบัติการสอนได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้มีความผิดหรือบทกำหนดโทษอย่างไร ถ้าได้จะต้องกระทำอย่างไรมิให้ผิด ตามพระราชบัญญัตินี้
ตอบ จากความเข้าใจข้างต้นสามารถสรุปเป็นใจความได้ดังต่อไปนี้ว่า พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546
มาตรา 46  กำหนดห้ามมิให้ผู้ใดแสดงด้วยวิธีใดๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิ หรือพร้อมจะประกอบวิชาชีพ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากคุรุสภา และห้ามมิให้สถานศึกษารับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคุรุสภา
                เนื่อง จากเหตุผลและความจำเป็นของสถานศึกษาในการพัฒนาการศึกษา ซึ่งต้องใช้บุคคลเข้าประกอบวิชาชีพ เพื่อจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุที่ไม่สามารถสรรหาผู้ที่มีใบอนุญาตประกอบ วิชาชีพเข้ามาดำเนินการสอนได้  คณะกรรมการคุรุสภาในการประชุมครั้งที่ 1/2557  เมื่อวันที่ 30  มกราคม  2557  และครั้งที่     2/2557 วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557 มีมติอนุญาตให้บุคคลเข้าประกอบวิชาชีพครู โดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาต ดังนี้
คุณสมบัติการพิจารณาอนุญาต
                 ผู้ที่จะขอเข้าประกอบวิชาชีพครู โดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
                   1. มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี
                   2. มีคุณวุฒิตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
              (1) มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า
                (2) มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี  ที่ ก.ค.ศ.รับรอง  ซึ่งกำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับการบรรจุแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครู  และเป็นวุฒิปริญญาในสาขาที่สอดคล้องกับระดับชั้นที่เข้าสอน ตามที่คุรุสภากำหนด ยก เว้นโรงเรียนในพระราชดำริ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โรงเรียนโครงการพิเศษต่างๆ ที่ได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานต้นสังกัด และมีคะแนนเฉลี่ย 2.5 ขึ้นไป โรงเรียนถิ่นทุรกันดาร หรือโรงเรียนเสี่ยงภัย ตามประกาศของทางราชการ และจัดให้มีการอบรมในเรื่องการเรียนรู้เกี่ยวกับการเรียนการสอนเบื้องต้นด้วย
          3. ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546
เงื่อนไขการอนุญาต
               1. สถานศึกษาชี้แจงเหตุผลความจำเป็น หรือความขาดแคลน ต้องรับบุคคลเข้าประกอบวิชาชีพครู  
                2. สถานศึกษาจะต้องแนบประกาศการรับสมัครและการสรรหาบุคคลเข้าประกอบวิชาชีพครู
                3.  สถานศึกษาจะต้องแนบคำสั่งของคณะกรรมการของสถานศึกษาในการคัดเลือกบุคคลเข้าประกอบชาชีพครู

            4. สถานศึกษาต้องขออนุญาตเป็นการเฉพาะราย ผ่านต้นสังกัด โดยจะต้องปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหนังสือ อนุญาตเท่านั้น ภายใต้การควบคุมของผู้บริหารสถานศึกษา
               5. ระยะเวลาการอนุญาตครั้งละไม่เกิน 2 ปี และต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2548 เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูต่อไป
6. หากผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพครู โดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ฝ่าฝืนจรรยาบรรณของวิชาชีพ หรือปฏิบัติการสอนผิดเงื่อนไข หรือไม่สามารถพัฒนาตนเองตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขการอนุญาต การอนุญาตดังกล่าวเป็นอันสิ้นสุด
มติคณะกรรมการคุรุสภาครั้งที่ 8/2557 วันที่ 2 มิถุนายน 2557 และครั้งที่ 12/2557 วันที่ 21 สิงหาคม 2557
               อนุญาตให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู โดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ขออนุญาตฯ ครั้งที่ 2 และครั้ง 3 ได้อีกไม่เกิน 2 ปี  แต่จะต้องพัฒนาตนให้มีคุณสมบัติในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู

มาตรา 79 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 46 หรือมาตรา 56 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกิน
หกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อธิบายความการฝ่าฝืนในมาตรา 46 ได้ว่า "แยกเป็น 2 ประเด็น คือ 1. ผู้ใด
แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือพร้อมจะประกอบวิชาชีพ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากคุรุสภา อันนี้รวมทั้งไปแสดงว่าตนเป็นครูโดยตนไม่มีใบอนุญาต
2.สถานศึกษาใดรับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา โดยไม่ได้ รับอนุญาตจากคุรุสภาเสียก่อน ก็มีความผิดโดยผู้บริหารสถานศึกษาในฐานะผู้มีอำนาจก็จะต้องเป็นผู้ถูกดำเนินการ

5.สมบัติ เป็นครูโรงเรียนแห่งหนึ่งได้ประพฤติผิดกระทำทารุณกรรมต่อเด็กหรือเยาวชน หากเราพิจารณาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 จะต้องทำอย่างไร และมีบทลงโทษอย่างไร
                ตอบ จากการพิจารณาตามพระราชบัญญิติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
 มาตรา 26 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการ ดังต่อไปนี้
(1) กระทำหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
(2) จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีวิตหรือการรักษาพยาบาลแก่เด็กที่ อยู่ในความดูแลของตน จนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
(3) บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควรหรือน่าจะทำให้เด็กมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระทำผิด
(4) โฆษณาทางสื่อมวลชนหรือเผยแพร่ด้วยประการใด เพื่อรับเด็กหรือยกเด็กให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ญาติของเด็ก เว้นแต่เป็นการกระทำของทางราชการหรือได้รับอนุญาตจากทางราชการแล้ว
(5) บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม ยินยอม หรือกระทำด้วยประการใดให้เด็กไปเป็นขอทาน เด็กเร่ร่อน หรือใช้เด็กเป็นเครื่องมือในการขอทานหรือการกระทำผิด หรือกระทำด้วยประการใดอันเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็ก
(6) ใช้ จ้าง หรือวานเด็กให้ทำงานหรือกระทำการอันอาจเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจมีผล กระทบต่อการเจริญเติบโต หรือขัดขวางต่อพัฒนาการของเด็ก
(7) บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กเล่นกีฬาหรือให้กระทำการใด เพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการค้าอันมีลักษณะเป็นการขัดขวางต่อการเจริญเติบโต หรือพัฒนาการของเด็กหรือมีลักษณะเป็นการทารุณกรรมต่อเด็ก
(8) ใช้หรือยินยอมให้เด็กเล่นการพนันไม่ว่าชนิดใดหรือเข้าไปในสถานที่เล่นการพนัน สถานค้าประเวณี หรือสถานที่ที่ห้ามมิให้เด็กเข้า
(9) บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กแสดงหรือกระทำการอันมีลักษณะลามกอนาจาร ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าตอบแทนหรือเพื่อการใด
(10) จำหน่าย แลกเปลี่ยน หรือให้สุราหรือบุหรี่แก่เด็ก เว้นแต่การปฏิบัติทางการแพทย์
บทลงโทษหากใดฝ่าฝืน  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำและปรับ

6.ช่วงที่นักศึกษาไปทดลองสอนที่โรงเรียนเทอม 2 และในเทอมต่อไป นักศึกษาเข้าไปทดลองสอนจริง นักศึกษาคิดว่าจะนำกฎหมายการศึกษาไปใช้โดยกำหนดคนละ 2 ประเด็นที่คิดว่าจะนำกฎหมาย ไปใช้ได้ พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
                ตอบ จากแนวความคิดของตนเอง ประเด็นที่อยากนำกฎหมายการศึกษาไปใช้ในสถานศึกษามีอยู่ 2 ประเด็นคือ
1.จะยกกฎหมายการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
มาตรา 7 ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ
ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย
รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะวัฒนธรรมของชาติ
การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้
และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
                การในกฎหมายมาตรานี้ไปใช้ คือเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความสนใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเองให้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากปัจจุบันนี้เป็นยุคโลกาภิวัฒ นักเรียนส่วนใหญ่จะให้ความสนใจกับวัตถุนิยม แฟชั่นและ ความทันสมัยเป็นส่วนใหญ่ โดยไม่ค่อยสนใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเองมากนัก ทั้งที่ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเรามีคุณค่ามากมาย ดังนี้จะทำการปลูกฝังให้นักเรียนหันมาสนใจภูมิปัญญาของท้องถิ่นเพื่อเป็นการอนุรักษ์และเชิดชู ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อไป โดยผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ
มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนา
ตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถ
พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
                จะจัดการศึกษาให้มีความเท่าเทียมกันแก่นักเรียนทุกๆคน จะจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะความคิด และเกิดการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา หากนักเรียนคนใดไม่เข้าใจในเนื้อหา ก็จะทำการอธิบายเนื้อหานั้นใหม่ด้วยความเต็มใจเพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจในเนื้อหานั้นๆ และไม่แบ่งแยกการให้ความสำคัญกับนักเรียน แต่จะให้ความสำคัญกับนักเรียนเท่าๆกันทุกคน

7. ให้นักศึกษาสะท้อนความคิดการใช้ เว็บบ็อก (weblog) ในการนำมาใช้จัดการเรียนการสอนวิชานี้   พอสังเขป
                ตอบ จากการเรียนวิชากฎหมายการศึกษา ผ่านเว็บบ็อก โดยความคิดส่วนตัวถือว่าดีมาก เพราะการเรียนผ่านเว็บบ็อค ทำให้เราสามารถแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่นได้อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากปัจจุบันเป็นยุคสังคมเน็ตเวิก ผู้คนส่วนใหญ่จะใช้อินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก ทำให้การเรียนรู้ผ่านเว็บบ็อกเป็นเรื่องที่ดี เราไม่จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ผ่านหนังสือเพียงอย่างเดียว การเรียนผ่านเว็บบ็อค จะทำให้เรามีความรู้ใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา และสามารถเรียนรู้ได้จากทุกที่ ดังนั้นจึงชอบให้มีการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบดังกล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น